การเข้าใจลูกค้า (Empathy) โดยศศิมา สุขสว่าง
Empathy คืออะไร ?
Empathy คือการเข้าใจ การเอาใจใส่ เป็นความสามารถในการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของคนอื่นควบคู่ไปกับความสามารถในการจินตนาการถึงสิ่งที่คนอื่นอาจคิดหรือรู้สึกได้
Empathy จะต่างจาก Sympathy ดังนี้คือ
Empathy เป็นการรับรู้ความเข้าใจของคนอื่นๆ ซึ่งบางครั้งเรียกว่า "มุมมอง" หมายถึงความสามารถในการระบุและเข้าใจอารมณ์ของคนอื่น ๆ
แต่ Sympathy เป็นการเข้าใจใส่แบบมีส่วนร่วม หรือความรู้สึกที่เราตอบสนองต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น หรือพูดภาษาง่ายๆว่า สงสาร หรือ อินไปกับความรู้สึกของคนอื่น
ในการพัฒนานวัตกรรม เราต้องเข้าใจและรับรู้อารมณ์ ความรู้สึกของลูกค้าได้ จนสามารถถอดความต้อง (want) หรือความจำเป็น (need) ปัญหา หรือ Pain Point ของลูกค้าได้
ในการเข้าใจลูกค้านั้น เราสามารถ
1. Ask and Empathize Listen skills การสัมภาษณ์ทักษะการถามและการฟังอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้เข้าใจเป้าหมายและประเด็นที่ต้องการแก้ไข
2. Look - การมองสังเกต (Observation) เพื่อให้เข้าใจสภาวะแวดล้อม การรับรู้ พฤติกรรม วิธีชีวิต การกระทำ
3. Try - เพื่อให้สามารถเข้าใจเข้าถึงความรู้สึกของลูกค้าโดยตรงด้วยการมีประสบการณ์ตรง (Immerse) เช่น เข้าไป
Empathy เป็นกระบวนการแรกใน Design Thinking เพื่อให้เข้าใจกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ใช้งานจริง เข้าใจในปัญหา ความต้องการ ความจำเป็น อารมณ์ ความรู้สึก การกระทำที่ออกมา ความหมายในสายตาของกลุ่มเป้าหมาย วิธีการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายนี้ สามารถใช้ได้หลายวิธี เช่น การสังเกตพฤติกรรม การสัมภาษณ์ การฟังอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้เข้าใจเป้าหมายและประเด็นที่ต้องการแก้ไข
HCDdesignthinking.com เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม โดยใช้ Design Thinking โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator) และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)
.................................
ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี ทำงานด้าน Research & Development Engineer และนักวิจัยมาโดยตลอด จนได้มาเป็นส่วนหนึ่งของทีมผู้ก่อตั้งและเป็นผู้จัดการบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์กว่า 8 ปี รวมเวลาทำงานด้านพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กรกว่า 15 ปี
ศศิมาได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Performance coaching ,Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล และมีประสบการณ์การโค้ชผู้บริหารในองค์กรชั้นนำหลายแห่ง
ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กรให้กับองค์กรต่างๆค่ะ
อ.ศศิมา สุขสว่าง - เก๋
วิทยากร ที่ปรึกษา โค้ช
Website : www.HCDdesignthinking.ccom , www.sasimasuk.com , www.HCDcoaching.com
Line ID : sasimasuk.com
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation/
Tel. : 081-5609994 (โทรกลับเฉพาะเบอร์มือถือค่ะ)
(อ.ศศิมาเก๋เช็คเมล์, line, ข้อความติดต่อกลับและเบอร์โทร. ด้วยตัวเองทุกวันค่ะ)
-
ในปัจจุบัน กระแสของ Design thinking ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งในการพัฒนานวัตกรรม ได้เป็นที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นเครื่องมือที่มีรวมกระบวนการทั้งด้านวิทย์และธุรกิจมารวมกัน ...
-
Design Thinking เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนานวัตกรรมด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่ผสมผสานการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) และการคิดเชิงธุรกิจ (Business thinking) ที่เน้นคนแล...
-
ทักษะการฟังอย่างใส่ใจ (Empathy Listening) เพื่อค้นหาความต้องการของลูกค้าและพัฒนานวัตกรรมนั้นเป็นทักษะที่สำคัญอีกทักษะหนึ่ง เพื่อค้นหาความต้องการของลูกค้าเชิงลึกของลูกค้า Pain Point...
-
การระดมสมอง หรือการระดมความคิด (Brainstorm) เพื่อปลุกไอเดียสร้างสรรค์ เป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการระดมความคิดเพื่อหาไอเดียสร้างสรรค์ไหม่ๆ หรือใช้ในระดมความคิดเพื่อแก้ไขปัญหา ...
-
Empathize เป็นการเข้าใจกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ใช้งานจริง คือ การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง เข้าใจในปัญหา ความต้องการ ความจำเป็น อารมณ์ความรู้สึก การกระทำที่ออกมา ความหมายในสา...